วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การซื้อตัวนักเตะ ไม่ใช่เรื่องง่าย!

ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการซื้อ-ขายนักเตะของลีกชั้นนำต่างๆของยุโรป วันที่ 1 นี้ถือว่าเป็นวันที่ตลาดเปิดอย่างเป็นทางการ แต่บรรดาทีมยักษ์ใหญ่ที... thumbnail 1 summary
ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการซื้อ-ขายนักเตะของลีกชั้นนำต่างๆของยุโรป วันที่ 1 นี้ถือว่าเป็นวันที่ตลาดเปิดอย่างเป็นทางการ แต่บรรดาทีมยักษ์ใหญ่ที่มีแฟนบอลติดตาม ยังไม่ค่อยขยับออกแอ็คชั่นกันมากเท่าไหร่ มีเพียงแค่ข่าวฮึ่มๆ จะเอาคนนู้นคนนี้แต่ก็ไม่ชูเสื้อซักที แฟนบอลจึงออกมาบ่นว่าไม่ทันใจ

วันนี้เราจะมาเจาะลึกการซื้อนักเตะกว่าจะได้นักเตะแต่ละคนกัน

เริ่มจากเรื่องการตั้งราคาขายนักเตะ หลักๆจะมีวิธีการคำนวนจาก ความเก่ง ผลงาน อายุ สัญญาที่เหลืออยู่(กี่ปี) ค่าสปอนเซอร์ต่างๆ แต่ในปัจจุบันค่าตัวนักเตะมีหลายดีลที่ค่าตัวเกินจริง อย่างเช่น แกเร็ธ เบล ที่ค่าตัวทะลุเพดานไปไกลถึง 100 ล้านปอนด์ หรือ อังเคล ดิ มาเรีย ที่ก็ไปได้ถึง 60 ล้านปอนด์ 

เรื่องค่าตัวเอาจริงๆก็อยู่ที่สโมสรของนักเตะจะตั้ง บางสโมสรอยากขายก็ตั้งค่าตัวน้อยๆ ไม่อยากขายก็โก่งค่าตัวสูง เรื่องนี้จึงอยู่ที่การคุยกันระหว่าง 2 สโมสรตกลงค่าตัวกันเอาเอง ซึ่งการซื้อการจะมีวิธีการคือเป็นการยืนข้อเสนอ(Bid) เข้าไปให้สโมสรของนักเตะ ข้อเสนออาจจะเป็นเงินเต็มจำนวน ผ่อนจ่าย หรือจ่ายตามจำนวนนัดที่ยิง จำนวนนัดที่ลง ก็แล้วแต่จะตกลงกัน ซึ่งจะมีรายละเอียดอีกยิบย่อย 

ถ้าข้อเสนอเป็นที่พอใจก็อาจจะตกลงกันเร็ว ถ้ายังไม่พอใจก็เจรจากันไปอย่างดีล แกเร็ธ เบล ที่ใช้เวลา 3 เดือนกว่าสเปอร์จะยอมรับข้อเสนอ แต่ถ้ามีหลายทีมที่สนใจนักเตะ สโมสรเจ้าของนักเตะก็จะยังไม่ตอบรับโดยทันทีเพื่อรอข้อเสนอจากทีมอื่นที่อาจจะดีกว่า นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การย้ายทีมยืดเยื้อ

ถัดไปเป็นการตกลงสัญญาระหว่างนักเตะ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความยุ่งยากมากที่สุดระหว่างการเจรจา โดยเฉพาะกับคนกลางที่ชื่อว่า เอเยนต์นักเตะ ที่ถูกมองว่าเป็นปัญหาในแต่ละการดีล




ในทุกวันนี้ "เอเยนต์" ส่วนตัวของนักเตะถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากในการย้ายทีมของนักเตะ ในอดีตวงการฟุตบอลไม่ได้มีเอเยนต์นักเตะ ส่วนมากคนที่ทำหน้าที่เจรจาสัญญาให้นักเตะก็คือญาติสนิท เช่น พ่อหรือพี่ชาย ซึ่งไม่มีความรู้ในเรื่องการทำสัญญาทำให้ถูกเอาเปรียบ หน้าที่ของเอเยนต์ ไม่ได้มีแค่หน้าที่ในการดูแลสัญญานักเตะเพียงอย่างเดียว แต่เรียกได้ว่าดูแลทุกอย่างของนักเตะ ทั้งภาพลักษณ์ การตลาด หาสปอนเซอร์ หาโฆษณาพรีเซนเตอร์ เป็นนักบัญชีคำนวนรายได้ คำนวนภาษีที่ต้องจ่าย หาวิธีลดภาษีให้ เรื่องนอกสนามเอเยนต์มีหน้าที่ทำหมด

เรื่องภาษีเป็นเรื่องที่แฟนบอลหลายๆคนมองข้ามไป บางคนสงสัยทำไมเวลาต่อสัญญา หรือย้ายทีม นักเตะคนต้องเรียกค่าเหนื่อยสูงมหาศาล โดยในพรีเมียร์ลีก ค่าเหนื่อย 1 สัปดาห์จะต้องถูกหักภาษี 45% ตัวอย่าง ค่าเหนื่อย 2 แสนปอนด์ นักเตะรับจริงจะอยู่ที่ 1 แสนกว่าเท่านั้น

ที่ลาลีกาสเปนยิ่งหนักกว่า ต้องหักภาษีมากถึง 52% ต่อค่าเหนื่อยแต่ละสัปดาห์ ด้วยเหตุฉะนี้นักเตะอย่าง เมสซี่ โรนัลโด้ ถึงได้ค่าเหนื่อยกันระดับหลุดโลก 

นี่จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้การย้ายทีมของนักเตะล่าช้า เพราะตกลงค่าเหนื่อยกันไม่ได้ ซึ่งนอกจากเรื่องค่าเหนื่อยแล้ว รายละเอียดอีกยิบย่อยในสัญญาก็สร้างความล่าช้าให้อีกเช่นกัน อย่างตัวอย่างล่าสุด แชร์วินโญ่ที่จะย้ายไปเล่นให้สโสรในยูเออี ในสัญาได้ขอทั้งชายหาดส่วนตัว เฮลิคอปเตอร์ โอเวอร์เกินจริง ทำให้ทีมจากดูไบต้องปฎิเสธไป แต่ล่าสุดแซร์วินโญ่ออกมาบอกว่าไม่เป็นความจริง ก็ไม่รู้ว่าใครพูดจริงพูดเท็จ

เบื้องหลังของการเจรจาระหว่างเอเยนต์และสโมสรต่างๆนั้น ก่อนนักเตะจะมายืนชูเสื้อยิ้มถ่ายภาพเปิดตัวอย่างที่เราๆได้เห็นกัน นั้นเป็นยิ่งกว่าเรื่องราวดราม่า เฉือดเฉือนแบบที่เราคาดไม่ถึงและจะไม่เล่าในที่นี้ เดี้ยวจะยาว

หลายคนคงจะคิดว่า เอเยนต์จะได้เงินส่วนแบ่งจาก เงินค่าเหนื่อยแต่ละสัปดาห์ของนักเตะ ที่ต้องมาแบ่งจ่ายให้เอเยนต์อีก ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่ เอเยนต์ไม่มีสิทธิไปหักเปอร์เซนต์จากค่าเหนื่อยนักเตะ

แต่รายได้หลักจะมาจาก "ค่านายหน้า" ในการทำสัญญาของนักเตะ หลังจากสโมสร 2 สโมสรตกลงค่าตัวนักเตะกันได้ ทีนี้ก็จะเป็นหน้าที่ของเอเยนต์ในการตกลงสัญญา และในสัญญานักเตะจะมีเงินกินเปล่าค่านายหน้าในการทำสัญาของนักเตะ ที่สโมสรจะต้องจ่ายให้ ซึ่งรายได้ของเอเยนต์จะมาจากตรงนี้ 

หรือเอเยนต์บางราย ก็จะได้จากเปอร์เซนต์ค่าตัวนักเตะในการย้ายทีม อย่างนักเตะย้ายทีมค่าตัว 40 ล้านปอนด์ 10% จะถูกหักเป็นค่านายหน้า

เอเยนต์บางรายหน้าเลือด ก็เรียก ค่านายหน้า แบบมหาศาล ก็อาจเป็นอีกสาเหตุนึงที่ทำให้การซื้อ-ขายล่าช้าหรือทำให้ดีลตกไป

และสิ่งสุดท้ายที่อาจจะเป็นอุปสรรคในการย้ายทีมก็คือ การตรวจร่างกายนักเตะ ที่ส่วนมากจะตรวจพวกกล้ามเนื้อ การทดทานของกล้ามเนื้อ ระบบข้อ-เข่า หัวไหล่ หน้าแข้ง ระบบการหายใจ ซึ่งส่วนมากจะไม่ค่อยมีปัญหา เพราส่วนมากนักฟุตบอลจะมีความฟิตอยู่แล้ว หรือมีการตรวจเป็นประจำจากสโมสรเดิมอยู่แล้ว

กรณีที่ไม่ผ่านการตรวจร่างกายล่าสุดก็เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว กรณีของ โลอิก เรมี่ ที่ลิเวอร์พูลตกลงค่าตัวกับทาง ควีน ปาร์ก เรนเจอร์เรียบร้อยแล้วร่วมถึงสัญญา แต่ดันตรวจร่างกายไม่ผ่านเนื่องจาก โลอิก เรมี่ มีปัญาที่หัวใจ ดีลจึงล่มไป ........แต่ดันผ่านการตรวจร่างกายกับเชลซีเฉย

หลักๆแล้วการย้ายก็มีขั้นตอนประมาณนี้ การย้ายทีมไม่ใช่ว่าอยากได้ตัวนี้แล้วต้องได้ ต้องได้ทันที การย้ายทีมต้องมีการเจรจากันหลายอย่าง ยิ่งเป็นทีมใหญ่ๆด้วยแล้ว ยิ่งถูกโก่งค่าตัว สัญญาต่างๆ ทำให้บางทีมถึงต้องรอจนวันท้ายๆของตลาด เพื่อบีบให้สโมสรเจ้าของนักเตะตัดสินใจให้ไว ซึ่งแฟนๆบอลอย่างเราต้องทำความเข้าใจ ครับ